TH I EN

 
เครื่องปั้นดินเผาโบาณของไทย

 
 
 
 
"เครื่องถ้วย"

"ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "เซรามิค" (Ceramic) หมายถึง เครื่องปั้นดินเผาทุกชนิดทั้งที่เคลือบและไม่เคลือบ มีความหมายเดียวกับคำว่า "เครื่องปั้นดินเผา" (Pottery) ส่วนคำว่า "เซรามิค" ใช้ในความหมายที่ กว้างกว่าสามารถครอบคลุมถึงโลหะเคลือบ เช่น ช้อน สังกะสี อิฐ ตลอดจน แก้วทุกชนิด แต่คำว่า "เครื่องปั้นดินเผา" โดยทั่วไปมักเข้าใจว่ามีความ หมายถึงเฉพาะแต่ที่ไม่เคลือบเป็นส่วนใหญ่ และเผาในอุณหภูมิไม่สูงพอ ที่จะเป็นเนื้อกระเบื้อง (Porcelain) ได้ ซึ่งความจริงแล้วคำว่า "เครื่องปั้น ดินเผา" นั้นครอบคลุมได้ทั้งประเภทไม่เคลือบและประเภทเคลือบทั้งที่เผาไฟ แรงสูงและต่ำก็ได้ เครื่องปั้นดินเผาอาจจำแนกตามแหล่งผลิตที่สำคัญๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผาก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียง บ้านปราสาท เครื่องปั้น ดินเผาบุรีรัมย์ เครื่องถ้วยสุโขทัย เครื่องถ้วยล้านนา เป็นต้น


 
ประวัติเครื่องปั้นดินเผาของไทย

 
 
 
 

เครื่องปั้นดินเผามีความผูกพันกับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะมนุษย์ได้ใช้เป็นเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวันบรรจุอาหารและสิ่งของ ฉะนั้นจึงได้มีการประดิษฐ์คิดค้นและปรับปรุงเทคโนโลยีต่างๆอยู่ตลอดเวลา จากการสำรวจแหล่งโบราณ คดีในประเทศไทย พบว่านับตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 เป็นต้นมา ในพื้นที่ของราชอาณาจักรไทยได้ปรากฏแหล่งเตาเผาตั้งกระจัดกระจาย อยู่มากมายหลายแห่ง รวมทั้งได้มีการค้นพบเครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวน มากมายหลายชนิดทั้งที่ผลิตจากแหล่งเตาเผาในราชอาณาจักรไทยและ ที่ผลิตจากแหล่งเตาในต่างประเทศซึ่งได้ถูกนำมาเพื่อใช้สอยและจำหน่ายให้กับกลุ่มชนบางกลุ่ม เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ถูกผลิตและตกแต่งด้วยเทคนิคและลวดลายที่แตกต่างกันออกไปตามความสามารถของช่างใน แต่ละท้องถิ่นหรือตามสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของแต่ละชุมชน ซึ่ง บางแห่งอาจมีแหล่งดินที่อุดมสมบูรณ์เอื้ออำนวยต่อการผลิตเครื่องปั้น ดินเผา นอกจากนี้ จากการที่ชุมชนบางแห่งมีพื้นที่ติดต่อกันหรือมีการ ทำการค้าร่วมกัน จึงทำให้อิทธิพลต่างๆ สามารถส่งผ่านไปยังอีกชุมชน หนึ่งได้อย่างง่ายดายก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะและเทคโนโลยี ซึ่งกันและกัน


ต่อมาจึงมีพัฒนาการของตนเอง ที่แตกต่างออกไปชุมชนบางแห่งก็อาจมีพัฒนาการทางการผลิตที่เป็นของตนเองโดยมิได้รับอิทธิพลจากภายนอก ซึ่งในระยะแรกจะผลิตขึ้นเพื่อใช้ในกลุ่มชนของตนเองก่อนต่อมาจึงสามารถพัฒนาจนกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่และมีการส่งไปจำหน่ายเป็นสินค้าออกให้แก่ชุมชนใกล้เคียง


เครื่องถ้วยในประเทศไทย
   
1. เครื่องถ้วยที่ผลิตจากแหล่งเตาในประเทศไทย
- เครื่องปั้นดินเผาบ้านเก่า
- เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง
- เครื่องปั้นดินเผาบ้านปราสาท
- เครื่องปั้นดินเผาสมัยสมัยทวารวดี
- เครื่องปั้นดินเผาศรีวิชัย
- เครื่องปั้นดินเผาหริภุญไชย
- เครื่องถ้วยเขมรหรือขอม
- เครื่องปั้นดินเผาบ้านบางปูน
- เครื่องถ้วยสุโขทัย
- เครื่องถ้วยล้านนา
- เครื่องปั้นดินเผาวัดพระปรางค์
- เครื่องปั้นดินเผาบ้านชีปะขาวหาย
- เครื่องปั้นดินเผาลุ่มแม่น้ำสงคราม

2. เครื่องถ้วยที่ผลิตจากแหล่งเตาในต่างประเทศ
- เครื่องถ้วยจีน
- เครื่องถ้วยญี่ปุ่น
- เครื่องถ้วยเวียดนาม
- เครื่องถ้วยพม่า
- เครื่องถ้วยเบญจรงค์
- เครื่องถ้วยลายน้ำทอง
- ชุดถ้วยอักษรพระนาม จ ป ร
- ชุดถ้วยจักรี
- เครื่องถ้วยยุโรป

 
เครื่องปั้นดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์

 
เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง
 
 

1. เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง (อายุประมาณ 5,600 - 1,800 ปี)

ครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง เป็นเครื่องปั้นดินเผาของไทยสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่ขุดพบได้ที่หมู่บ้านบ้านเชียง จ.อุดรธานี แบ่งออกเป็น 3 สมัย คือ

       - สมัยต้น (อายุประมาณ 5,600 - 3,000 ปี)
       - สมัยกลาง (อายุประมาณ 3,000 - 2,300 ปี)
       - สมัยปลาย (อายุประมาณ 2,300 - 1,800 ปี)

 

 

 
 

เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงสมัยต้น

เป็นภาชนะดินเผาสีดำ ตกแต่งด้วยลายขูดขีดและลายเชือกทาบ รูปทรงมักเป็น หม้อก้นกลม ปากผายกว้างเชิงสูง มีทั้งชนิดปลาย สอบเข้าและผายออก

 

 
 

เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงสมัยกลาง

ภาชนะส่วนใหญ่มีเนื้อดินสีขาวนวล ไหล่ลู่ ลำตัวกลมและหักเป็นสัน ก้นภาชนะ มีทั้งกลมและแหลม มักไม่มีการตกแต่งลวดลาย แต่บางชิ้นมีการตกแต่งด้วยลายขูดขีด และเขียนลวดลายสีแดงที่บริเวณไหล่ของภาชนะ

 

 
 

เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงสมัยปลาย

รูปทรงของภาชนะมีทั้งชนิดก้นกลมและชนิด มีเชิงสูง ปลายผาย ขอบปากมีสัน มีการตกแต่งด้วยการเขียนลวดลายสีแดง สีที่ใช้เขียนเรียกว่า "สีดินเทศ" ลวดลาย ที่เขียนส่วนใหญ่เป็น ลายเรขาคณิต ลายสี่เหลี่ยม ลายวงกลม ลายก้านขด ลายก้นหอย

 
เครื่องปั้นดินเผาบ้านปราสาท
 
 

2. เครื่องปั้นดินเผาบ้านปราสาท

เครื่องปั้นดินเผาชนิดนี้ได้มีการขุดพบที่บริเวณบ้านปราสาทใต้ จังหวัดนคร ราชสีมา มีอายุประมาณ 3,000-1,500 ปี ลักษณะเครื่องปั้นดินเผาบ้านปราสาท มีทั้งชนิดที่ตกแต่งและไม่ตกแต่งลวดลาย โดยการตกแต่งอาจจะเป็นลายเชือกทาบ ผิวด้านนอกและด้านในเคลือบด้วยน้ำดินสีแดง ส่วนรูปทรงที่พบเป็นจานหรือคนโท ปากแตร คอแคบสูง ปากกว้างบาน ลำตัวกลมแป้น

 
เครื่องปั้นดินเผาบุรีรัมย์

 

 
 

เครื่องปั้นดินเผาบุรีรัมย์หรือที่เรียกว่าเครื่องถ้วยเขมร หรือเครื่องถ้วยลพบุรี เป็นเครื่องถ้วยที่ขุดพบในบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องถ้วยชนิดนี้ได้รับอิทธิพล จากศิลปะเขมร มีลักษณะเด่นคือ หนาและหนัก เนื้อแกร่ง นิยมตกแต่งด้วยการ ขูดขีดเป็นลวดลายต่างๆ และปั้นเป็นรูปสัตว์ เช่น นก ช้าง ไก่ เป็นต้น นิยมเคลือบ ด้วยสีน้ำตาล

 

เครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย (สังคโลก) อายุราวพุทธศตวรรษที่ 19-22

 
 
 
 

เครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย (สังคโลก) มีแหล่งเตาเผาที่พบแล้ว 2 แห่ง ได้แก่


1. แหล่งเตาเผาที่อำเภอเมืองสุโขทัย

แหล่งเตาเผานี้อยู่บริเวณใกล้ลำน้ำโจน ผลิตเครื่องถ้วยชนิดที่มีการเขียนลายสีดำใต้เคลือบ และประเภทเคลือบสีขาว ลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ คือ มีเนื้อดินที่หยาบ สีเทาดำ บางครั้ง ออกสีน้ำตาล

 

2. แหล่งเตาเผาที่อำเภอศรีสัชนาลัย(สวรรคโลกเก่า)

แหล่งเตาเผานี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม นอกเมืองศรีสัชนาลัย เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งนี้ มีทั้ง ชนิดเคลือบและไม่เคลือบ ชนิดที่เคลือบยังแยกได้เป็น เคลือบสีขาว เคลือบสีน้ำตาล เคลือบสีเขียว เคลือบสองสี และเขียนลายสีตำใต้เคลือบ

 
เครื่องปั้นดินเผาล้านนา

อาณาจักรล้านนาได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน และลำปาง รวมทั้ง ดินแดนบางส่วนใน พม่า จีน ลาว สำหรับแหล่งผลิตเครื่องปั้น ดินเผาที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งเตาสันกำแพง แหล่งเตาเวียงกาหลงและแหล่งผลิตที่อำเภอพาน

เครื่องปั้นดินเผาสันกำแพง (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 )

ลักษณะโดยทั่วไปมักมีเนื้อดินหยาบ และหนัก มีทั้งประเภทเคลือบสีน้ำตาลหรือ เขียนลายสีดำใต้เคลือบ ลวดลายที่นิยม คือ ลายปลาคู่ (แบบหยิน-หยาง) และลายพันธุ์พฤกษา

 


จานเคลือบสีเขียว ตัวจานเซาะเป็นร่องขนานกันในแนวตั้ง
ก้นถูกกดประทับด้วยลายปลาคู่
 

เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง ( อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21)

ลักษณะเด่นคือมีน้ำหนักเบา เนื้อดินละเอียด ลวดลายตกแต่งที่เป็นเอกลักษณ์ของของเครื่องถ้วยเวียงกาหลง คือลายกลีบดอกไม้ หรือใบไม้ ที่เรียกกันว่า "ลายกา" โดยมักจะเขียนลายใต้เคลือบใส แหล่งผลิตของเครื่องปั้นดินเผาชนิดนี้ อยู่ที่บริเวณ ตำบลหัวฝาย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัด เชียงราย

 

กระปุกสองหู เขียนลายก้านขดสีดำใต้เคลือบ

จานเขียนลายพันธุ์พฤกษาสีดำใต้เคลือบ
 

จานเขียนลายกาสีดำใต้เคลือบ

จานเคลือบสีเขียวไม่มีลวดลาย
 

เครื่องปั้นดินเผาอำเภอพาน ( อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21)

แหล่งผลิตอยู่ที่บ้านโป่งแดง จังหวัดเชียงราย มีเนื้อดินละเอียด สีเทา ตกแต่งด้วยการขูดขีด ตัวภาชนะเป็นลายดอกไม้และลายเรขาคณิต

ชามเคลือบสีเขียวมะกอก
ตกแต่งด้วยลายขูดเป็นวงกลมขนานกัน



 
 
 
มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม
กองบัญชาการกองทัพเรือ
Copyright @ 2013 http://www.wangdermpalace.org