โบราณสถานค่ายทหารฝรั่งเศส สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖)
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Historic monument from the A.D. 1893 Incident During the reign of King Chulongkorn the Great
          ภายหลังจากวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๕๓๖) พระองค์ทรงตระหนักว่ามหาอำนาจตะวันตกนั้น หวังผลประโยชน์จากไทยรวมทั้งต้องการครอบครองดินแดน    การหวังพึ่งพาอังกฤษเพียงประเทศเดียวเป็นไปได้ยาก อีกทั้งภายหลังอังกฤษและฝรั่งเศสได้ลงนามในสัญญาลับใน พ.ศ.๒๔๓๘ โดยให้ไทยเป็นรัฐกันชน (Buffer State) ระหว่างพม่าซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษกับอินโดจีนของฝรั่งเศสดังนั้นพระองค์ทรงเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาพันธมิตรใหม่ เช่น รัสเซีย เยอรมนี และญี่ปุ่น มาคานอำนาจของอังกฤษและฝรั่งเศส เนื่องจากทั้งสามประเทศนี้มีความขัดแย้งกับอังกฤษและฝรั่งเศสในภูมิภาคเอเชียและส่วนต่างๆ ในโลกอยู่แล้ว นอกจากนี้พระองค์ยังทรงส่งเสริมให้ประเทศอื่นๆ ในยุโรป เช่น เดนมาร์ก เบลเยี่ยม และอิตาลีเข้ามามีผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจในประเทศไทย เพื่อเป็นเกราะป้องกันภัยอีกทางหนึ่ง
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จประพาสประเทศต่าง ๆ ในยุโรปครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๔๐ และเสด็จประพาสครั้งที่ ๒ ในพ.ศ.๒๔๕๐ ซึ่งนอกจากจะได้รับประโยชน์ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแล้ว ยังทรงนำความเจริญต่าง ๆ มาปรับปรุงบ้านเมืองให้พัฒนาก้าวหน้า โดยทรงเลือกแบบอย่างที่ดีมาเป็นแนวทางในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกิจการหลายอย่างเช่น การศึกษา การปกครอง การคมนาคม ส่งผลให้ประเทศไทยเริ่มเจริญทัดเทียมกับอารยประเทศ

การเสด็จประพาสยุโรป
ราชการที่ ๕ ทรงเขาพบปรินช์สมารค์ (Prince Bismasck)
เอกอัครมหาเสนาบดีคนสำคัญของเยอรมนี
สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์โจเซฟที่ ๑ (Franz Josep) แห่งออสเตรีย - ฮังการี
พร้อมด้วยอาชดยุคทั้ง ๓ พระองค์รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ณ สถานนีเวสต์บานโฮฟ