นิทรรศการภายในกองบัญชาการของทหาร
โบราณสถานค่ายทหารฝรั่งเศส สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖)
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Historic monument from the A.D. 1893 Incident During the reign of King Chulongkorn the Great
จัดแสดงความสัมพันธ์ไทย - ฝรั่งเศสตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
     สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สยามกับฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตลอดรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทั้งในด้านการค้า ศาสนาและการทูต โดยมีคอนสแตนติน ฟอลคอน หรือเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ แต่เมื่อสิ้นสุดรัชกาล สมเด็จพระะเพทราชาไม่มีพระราชประสงค์ที่จะสานต่อ ความสัมพันธ์จึงสิ้นสุดลง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ฝรั่งเศสกับมาฟื้นฟูความสัมพันธ์อีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ความสัมพันธ์ไม่ได้ราบรื่น สยามต้องสูญเสียเขมรซึ่งเป็นประเทศราชของสยามให้ฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสต้องการลาวซึ่งเป็นเมืองขึ้นของสยาม จนเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ผลตามมาคือสยามต้องสละดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆ ตั้งแต่ภาคเหนือของลาวไปจนถึงพรมแดนเขมร เสียค่าปฏิกรรมสงคราม อีกทั้งฝรั่งเศสยึดจันทบุรีไว้เป็นประกัน แต่ปัญหาต่างๆ ได้รับการแก้ไขจนลุล่วงไปด้วยดีด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ฝรั่งเศสซึ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรขอให้รัฐบาลไทยจัดกองทหารไปร่วมรบเคียงข้างกับฝ่ายสัมพันธมิตร และส่งเรือมาลำเลียงกำลังพลจากไทยไปร่วมทำสงครามถึงเมืองมาร์แซลล์ ประเทศฝรั่งเศส  รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไทย๙งประกาศนโยบายเป็นกลางถือโอกาสเจรจาเรียกร้องดินแดนที่เคยเสียให้ฝรั่งเศสกลับคืนมา แต่ฝรั่งเศสไม่ประสงค์จะคืนให้ เกิดการสู้รบระหว่างกองเรือลาดตระเวนไทยและเรือรบของฝรั่งเศสที่เรียกว่า การรบที่เกาะช้าง หลังการรบไทยดินแดนคืนมาชั่วคราว แต่ต้องคืนกลับให้ฝรั่งเศสซึ่งเป็นฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายชนะสงคราม