โบราณสถานค่ายทหารฝรั่งเศส สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖)
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Historic monument from the A.D. 1893 Incident During the reign of King Chulongkorn the Great
หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากสิงคโปร์และชวาใน พ.ศ.๒๔๑๕ ทรงนำแบบอย่างทางการทหารในประเทศเหล่านั้นมาแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมกับประเทศไทย แบ่งหน่วยทหารในกองทัพเป็นทหารบก และทหารเรือ ปรับปรุงอาวุธยุทโธปกรณ์ให้มีความทันสมัย ใน พ.ศ.๒๔๓๐ โปรดให้ตั้งกรมยุทธนาธิการ ต่อมายกฐานะเป็นกระทรวงกลาโหมใน พ.ศ.๒๔๓๗ ทำหน้าที่บังคับบัญชาทหารบกและทหารเรือ และโปรดให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารขึ้นใน พ.ศ.๒๔๔๘ ให้รวมการบังคับบัญชาทหารบกและทหารเรือ เพื่อแยกราชการทหารออกจากราชการฝ่ายพลเรือน นอกจากนี้พระองค์ได้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนนายร้อยทหารบก และโรงเรียนนายเรือทรงจัดตั้งโรงเรียนนายร้อยสำหรับทหารบก เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนทหารสราญรมย์" และ พ.ศ.๒๔๔๕ ขยายมาตั้งที่ถนนราชดำเนินเป็นโรงเรียนนายร้อย เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙ ทรงสถาปนาโรงเรียนนายเรือที่พระราชวังเดิม พร้อมทั้งทรงส่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชไปศึกษาที่ประเทศเยอรมนี และทรงส่งพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ รวมทั้งพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าวุฒิชัยเฉลิมลาภ ไปศึกษาวิชาการทหารที่ประเทศอังกฤษ ด้านการรักษาความปลอดภัย ทรงปรับปรุงเรื่องยุทธปัจจัยและอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ทันสมัย เช่น สั่งปืนแก๊ทลิ่งเข้ามาเป็นครั้งแรก และโปรดให้สร้างเรือรบเพิ่มอีกหลายลำ เช่น เรือพระที่นั่งเวสาตรี เรือรบหลวงมกุฎราชกุมาร ฯลฯ นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีพระราชปรารภว่าป้อมต่างๆ ที่เมืองสมุทรปราการ ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันอริราชศัตรูอันจะมีมาทางน้ำนั้น ล้วนแต่เป็นป้อมเก่าๆที่ล้าสมัย และชำรุดทรุดโทรมเป็นส่วนมาก ประจวบกับในเวลานั้น ฝรั่งเศสกำลังหาเมืองขึ้นในเอเชียอาคเนย์อยู่ ซึ่งหลังจากฝรั่งเศสยึดญวน เขมรและลาวได้แล้ว ฝรั่งเศสก็คิดจะยึดพื้นที่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงอันเป็นของไทยมาแต่เดิม ดังนั้นจึงมีพระราชดำริให้สร้างป้อมอย่างทันสมัยขึ้นที่ปากน้ำเจ้าพระยาและตามหัวเมืองชายทะเลเป็นการด่วน
ด้านการทหารและการป้องกันประเทศ
โรงเรียนนายเรือ ที่พระราชวังเดิม