โบราณสถานค่ายทหารฝรั่งเศส สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖)
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Historic monument from the A.D. 1893 Incident During the reign of King Chulongkorn the Great

๑. การเสด็จประพาสต้นครั้งแรก พ.ศ.๒๔๔๗
          การเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ (ระหว่างวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ถึงวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๗) เป็นการเสด็จทางชลมารคและทางรถไฟเป็นหลัก โดยเสด็จออกจากพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมื่อวันที่ ๑๔  กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๗ ทรงล่องเรือประทับแรมตามหัวเมืองต่าง ๆ  ซึ่งเสด็จผ่านจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพฯ ธนบุรี สมุทรสาคร ราชบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กลับสู่บางปะอิน รวมเวลาของการเสด็จประพาสในครั้งนี้ประมาณ ๒๕ วัน ในการนี้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์เรื่องราวต่างๆ ระหว่างตามเสด็จในรูปแบบของจดหมายเล่าเรื่องถึงเพื่อนคนหนึ่งคือ นายประดิษฐ์ จำนวนทั้งสิ้น ๘ ฉบับ โดยจดหมายดังกล่าวได้ลงตีพิมพ์ในหนังสือทวีปัญญารายเดือนตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.2449 เดือนละฉบับจนจบเรื่อง โดยพระองค์ทรงใช้พระนามแฝงว่า นายทรงอานุภาพ




การเสด็จประพาสต้น
          การเสด็จประพาสตามหัวเมืองต่างๆ ในพระราชอาณาจักรนั้น เป็นพระราชกรณียกิจสำคัญประการหนึ่งที่มีพระราชนิยมที่จะเสด็จฯไปอย่างสามัญชนโดยที่ไม่โปรดให้จัดการรับเสด็จเป็นทางการและไม่มีท้องตราสั่งหัวเมืองให้จัดทำที่ประทับแรม หรือเตรียมการรับเสด็จแต่อย่างใดเป็นการเที่ยวสุดแต่พระองค์  โปรดที่จะเสด็จที่ใดหรือประทับแรมที่ใดก็สุดแต่พระราชหฤทัยแม้แต่คณะตามเสด็จที่ร่วมไปกับพระองค์ก็ไม่มีใครรู้เส้นทางล่วงหน้าทำให้พระองค์ทรงทราบถึงปัญหาจากราษฎรโดยตรงโดยที่ราษฏรก็ไม่รู้ว่ากำลังเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวส่งผลให้ทรงพบเห็นการปฏิบัติงานของข้าราชการตลอดจนทรงทราบถึงความเป็นอยู่และสาระทุกข์สุขดิบของราษฎร ซึ่งการเสด็จประพาสเช่นนี้เรียกว่า"ประพาสต้น"การเสด็จประพาสต้นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแสดงให้เห็นถึงความเอาพระราชหฤทัยใส่ในความเป็นอยู่ของราษฎรตามหัวเมืองที่ห่างไกลและน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงรักใคร่ห่วงใยราษฎร  สำหรับการเสด็จประพาสต้นที่สำคัญในรัชสมัยนี้มี ๒ ครั้ง คือ
๒. การเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๔๙
          การเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ.๒๔๔๙ (ระหว่างวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ถึงวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๔๔๙) นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับเรือ พระที่นั่งสุวรรณวิกิจออกจากกรุงเทพฯ เสด็จผ่านนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ และกำแพงเพชร รวมเวลา ๓๔ วัน  นับเป็นครั้งแรกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระนิพนธ์เรื่องราวระหว่างการเดินทางไว้โดยละเอียดในรูปแบบพระราชบันทึกส่วนพระองค์และทรงบันทึกภาพตลอดการเสด็จ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และคณะติดตามเสร็จประพาสที่จังหวัดนนทบุรี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสร็จสวนสะท้อน (กระท้อน) ที่จังหวัดนนทบุรี
เสร็จประพาสจังหวัดชัยนาท เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๙
เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙
เสด็จประพาสจังหวัดชัยนาท เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙