นอกจากนั้นยังทรงว่าจ้างชาวต่างชาติเข้ามารับราชการหลายคนด้วยกัน ที่สำคัญได้แก่ นายกุสตาฟ โรแลง ฌาคเกอแมงส์ (Gustave Rolin-Jaequemyns) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศชาวเบลเยี่ยมเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๕ - ๒๔๔๖ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ กับนายเอ็ดเวิร์ด เฮนรี่ สโตรเบล (Edward Henry Strobel) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศและการทูตผู้มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน รับราชการสืบต่อจากนายฌาคเกอแมงส์ (ระหว่าง พ.ศ.๒๔๔๖ - ๒๔๕๑) ทั้งสองท่านได้มีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาในการร่างสนธิสัญญาต่างๆ เพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสจนบรรลุข้อตกลงเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๐


โบราณสถานค่ายทหารฝรั่งเศส สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖)
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Historic monument from the A.D. 1893 Incident During the reign of King Chulongkorn the Great
ด้านกฏหมายและการศาล
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและการศาลให้ทันสมัยเพื่อแก้ไขสนธิสัญญาต่างๆ ที่ไทยต้องเสียเปรียบชาติตะวันตก ทรงตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นใน พ.ศ.๒๔๓๔ เพื่อปรับปรุงระเบียบการศาลให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร และโปรดให้ตั้งศาลโปริสภา (ศาลแขวงในปัจจุบัน) และศาลหัวเมืองโดยเริ่มที่มณฑล  กรุงเก่าเป็นแห่งแรกใน พ.ศ.๒๔๓๙ ใน พ.ศ.๒๔๔๐  ทรงสถาปนาโรงเรียนสอนกฎหมายและโปรดให้มีการชำระพระราชกำหนดกฎหมายตลอดจนตราประมวลกฎหมายขึ้นใหม่เพื่อให้มีความทันสมัยและทัดเทียมกับนานาประเทศ รวมทั้งมีการส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชากฎหมายในทวีปยุโรป พร้อมทั้งมีการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ เป็นฉบับแรก


กฏหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๗๒
นายกุสตาฟ โรแลง ฌาคเกอแมงส์
นายเอ็ดเวิร์ด เฮนรี่ สโตรเบล