พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ.๒๔๑๖ โปรดให้สร้างหอรัษฎากรพิพัฒน์ทำหน้าที่จัดเก็บรายได้ของแผ่นดิน ภายหลังยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงกำหนดอัตราภาษีอากรให้เสมอภาคกัน มีการจัดงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๓๙ เพื่อแยกงบประมาณแผ่นดินและเงินส่วนพระองค์ออกจากกันเด็ดขาด โปรดให้จัดตั้งธนาคารขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ในนาม "แบงก์สยามกัมมาจล" (ปัจจุบันคือธนาคารไทยพาณิชย์)  




โบราณสถานค่ายทหารฝรั่งเศส สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖)
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Historic monument from the A.D. 1893 Incident During the reign of King Chulongkorn the Great
ด้านเศรษฐกิจและสังคม
          หลังจากที่เสด็จพระราชดำเนินกลับจากการประพาสยุโรปครั้งแรก ได้โปรดให้นำระบบทศนิยมเข้ามาใช้เป็นครั้งแรกในระบบเงินตราของไทย และเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินปลีก ในพ.ศ.๒๔๑๗ โปรดให้ผลิตธนบัตรขนาด ๑ อัฐขึ้นใช้เป็นการชั่วคราว ประกาศยกเลิกการใช้เงินพดด้วงในการชำระหนี้เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ และใน พ.ศ.๒๔๕๒ ทรงปรับปรุงหน่วยเงินปลีกโดยรวมเข้าด้วยกัน และตั้งเป็นหน่วยเงินตราขึ้นใหม่ในระบบทศนิยมเรียกว่า "สตางค์" 

อาคารเดิมของแบงก์สยามกัมมาจล
ปัจจุลบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย